
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เผยกรณีการพิจารณาปรับค่าผ่านทางพิเศษตามสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ ๒ (รวมถึงส่วนดี) ที่ร่วมลงทุนกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และตามสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด กับ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด รวมถึงการพิจารณาปรับค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบางสายทางของ กทพ. ที่พิจารณาปรับขึ้นตามดัชนีผู้บริโภค ซึ่งโดยปกติจะพิจารณาปรับค่าผ่านทางพิเศษทุก ๕ ปี นั้น ในปี ๒๕๖๑ นี้ คณะกรรมการ กทพ. ได้มีมติเห็นชอบการปรับค่าผ่านทางพิเศษตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าผ่านทางพิเศษฯ เสนอ สรุปได้ดังนี้
๑. ทางพิเศษที่ไม่มีการปรับค่าผ่านทางพิเศษสำหรับรถทุกประเภท ได้แก่
– ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
– ทางพิเศษศรีรัช
– ทางพิเศษฉลองรัช
– ทางพิเศษอุดรรัถยา
๒. ทางพิเศษที่ไม่มีการปรับค่าผ่านทางพิเศษสำหรับรถ ๔ ล้อ
ยกเว้นรถ ๖ – ๑๐ ล้อ และมากกว่า ๑๐ ล้อขึ้นไป มีการปรับค่าผ่านทางจำนวน ๓ ด่าน (ทั้งทิศทางขาเข้าและขาออก) ปรับขึ้น ๕ บาท
ได้แก่
– ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
๓. ทางพิเศษที่มีการปรับค่าผ่านทางสำหรับรถทุกประเภท จำนวน ๑๑ ด่าน (ทั้งทิศทางขาเข้าและขาออก) ปรับขึ้น ๕ บาท ได้แก่
ทั้งนี้ กทพ. อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อออกประกาศอัตราค่าผ่านทางพิเศษและลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ EXAT Call center โทร 1543 ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
เอกสารรายละเอียดการปรับค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถีและกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ดาวน์โหลด
ข่าวและภาพข่าว โดย กองประชาสัมพันธ์ สำนักผู้ว่าการ
กทพ. ยืนยัน ๑ กันยายนนี้ ยังไม่ปรับค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ศรีรัช ฉลองรัช อุดรรัถยา ยกเว้นทางพิเศษบูรพาวิถีและกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ที่จะปรับขึ้นเฉพาะรถบางประเภทและบางด่านฯ เท่านั้น (272.1 KiB, 62 downloads)
Post Views: 249