ทางพิเศษศรีรัช

project โครงข่ายทางพิเศษ ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ก่อสร้างทางพิเศษและเปิดให้บริการแล้ว 8 สายทาง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษ 4 แห่ง รวมระยะทาง 224.60 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันได้
เปิดให้บริการระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล

ทางพิเศษศรีรัช

กทพ. ได้ลงนามในสัญญากับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๑ ให้เป็นผู้ก่อสร้างและบริหารทางพิเศษศรีรัช ตลอดระยะเวลา ๓๐ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทางพิเศษในกรุงเทพมหานครให้เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ ทำให้สามารถแบ่งเบาการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร และช่วยให้การเดินทางเข้าสู่ย่านธุรกิจใจกลางเมือง มีระยะทางรวมทั้งสิ้น ๓๘.๔ กิโลเมตร ประกอบด้วย ๔ ส่วน ดังนี้

ทางพิเศษศรีรัช
ระยะทางรวม ๓๘.๔ กิโลเมตร ประกอบด้วย


ส่วน A เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๖ ระยะทาง ๑๒.๔ กิโลเมตร เริ่มต้นที่ ถนนรัชดาภิเษก ผ่านบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) สิ้นสุดแนวสายทางที่ถนนพระราม ๙ และเป็นทางพิเศษโครงข่ายในเขตเมือง

ส่วน B เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙ ระยะทาง ๙.๔ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) ผ่านยมราช ถนนศรีอยุธยา ถนนสาทร ถนนจันทน์ ถนนพระรามที่ ๔ สิ้นสุดแนวสายทางที่บริเวณบางโคล่ เป็นทางพิเศษโครงข่ายในเขตเมือง

ส่วน C เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๖ ระยะทาง ๘ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนรัชดาภิเษก ผ่านถนนประชาชื่น มุ่งไปทางทิศเหนือ สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นทางพิเศษโครงข่ายนอกเขตเมือง

ส่วน D ระยะทาง ๘.๖ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนพระราม ๙ ไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ เป็นทางพิเศษโครงข่ายนอกเขตเมือง เปิดให้บริการส่วนที่ ๑ (ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษอโศก ๑ - คลองแสนแสบ ใกล้ถนนรามคำแหง ระยะทาง ๓.๔ กิโลเมตร) เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑ และส่วนที่ ๒ (คลองแสนแสบ - ทางต่างระดับถนนศรีนครินทร์ ระยะทาง ๕.๒ กิโลเมตร) เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๓ โดยเปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๓
ข้อมูลแบบละเอียด กทพ. ได้ลงนามในสัญญากับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๑ ให้เป็นผู้ก่อสร้างและบริหารทางพิเศษศรีรัช ตลอดระยะเวลา ๓๐ ปี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทางพิเศษในกรุงเทพมหานครให้เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์ ทำให้สามารถแบ่งเบาการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหา - นครและช่วยให้การเดินทางเข้าสู่ย่านธุรกิจใจกลางเมือง เช่น ถนนจันทน์ ถนนสาทร ถนนสีลม ถนนสุรวงศ์ ถนนสี่พระยา ถนนพระรามที่๔ และถนนพระรามที่ ๑ สะดวกมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยลดปัญหาจราจรบริเวณดินแดง บริเวณทางแยกต่างระดับมักกะสัน และทางแยกต่างระดับคลองเตย
การก่อสร้างแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้
            ส่วน A เริ่มต้นที่ถนนรัชดาภิเษก ผ่านบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) สิ้นสุดแนวสายทางที่ถนนพระราม ๙ ระยะทาง ๑๒.๔ กม. เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๖
            ส่วน B เชื่อมต่อกับส่วน A เริ่มจากจุดเชื่อมต่อบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) ผ่านถนนศรีอยุธยา สิ้นสุดแนวสายทางที่บริเวณบางโคล่ ระยะทาง ๙.๔ กม. และยังประกอบด้วยถนนรวมและกระจายการจราจร(Collector/Distributor Road: C/D Road) ที่จะดำเนินการก่อสร้างจากอุรุพงษ์ ไปถึงถนนราชดำริโดยมีแนวสายทางช่วงต้นคร่อมคลองมหานาค ระยะทาง ๒ กม. รวมระยะทาง ๑๑.๔ กม. เปิดให้บริการ ส่วน B สายหลักแล้วเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙
            ส่วน C เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนรัชดาภิเษก ผ่านถนนประชาชื่น มุ่งไปทางทิศเหนือ สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง ระยะทาง ๘ กม. เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๖
            ส่วน D เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนพระราม ๙ ไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง ระยะทาง ๘.๖ กม. เปิดให้บริการส่วนที่ ๑ (ด่านอโศก-คลองแสนแสบใกล้ ถนนรามคำแหง) เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑ และส่วนที่ ๒ (คลองแสนแสบ-ทางต่างระดับถนนศรีนครินทร์) เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๓
      กทพ. ได้เปิดให้บริการทางพิเศษศรีรัช ซึ่งเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๖ โดยได้มีการกำหนดสัดส่วนการแบ่งรายได้ตามสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ ๒ ระหว่าง กทพ. กับ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) ดังนี้
เส้นทาง ระยะทาง กทพ. BECL
๙ ปีแรกนับจากวันเปิดใช้งาน (๒ ก.ย. ๒๕๓๖ - ๑ ก.ย. ๒๕๔๕) ๔๐ % ๖๐ %
ระยะเวลาระหว่าง ๙ ปีแรกและ ๙ ปีสุดท้าย (๒ ก.ย. ๒๕๔๕ - ๒๘ ก.พ. ๒๕๕๔) ๕๐ % ๕๐ %
๙ ปีสุดท้ายของระยะเวลาสัญญา (๑ มี.ค. ๒๕๕๔ - ๒๘ ก.พ. ๒๕๖๓) ๖๐ % ๔๐ %

อัตราค่าผ่านทางพิเศษ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย กทพ. รับภาระแทนผู้ใช้บริการ ยกเว้นส่วน D เป็นอัตรารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
เส้นทาง อัตราค่าผ่านทาง (หน่วย : บาท)
รถ ๔ ล้อ รถ ๖ - ๑๐ ล้อ รถมากกว่า ๑๐ ล้อ
โครงข่ายในเขตเมือง (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ส่วน A และ B) ๕๐ ๗๕ ๑๑๐
โครงข่ายนอกเขตเมือง (ทางพิเศษศรีรัช ส่วน C) ๑๕ ๒๐ ๓๕
โครงข่ายนอกเขตเมือง (ทางพิเศษศรีรัช ส่วน D) ๒๕ ๕๕ ๗๕
* หมายเหตุ  มีส่วนลดให้กับรถที่เดินทางเชื่อมต่อระบบทางพิเศษในเขตเมือง และนอกเขตเมือง(ทางพิเศษศรีรัช ส่วน C บริเวณด่านประชาชื่น (ขาเข้า) และด่านประชาชื่น (ขาออก) จำนวน ๕ บาท)
ภาพโครงข่ายการทางพิเศษ

Comments are closed.

กทพ. แจ้งเบี่ยงการจราจรบริเวณที่ขึ้นทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ด้านซ้ายมือ 1 ช่องทาง ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2564

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้าง จ้างบริษัท ช.การช่าง จํากัด (มหาชน) ผู้ดําเนินการก่อสร้าง โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก สัญญาที่ 4 จะดำเนินการเบี่ยงการจราจรบริเวณทางขึ้นทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) บริเวณไหล่ทางด้านซ้ายมือ 1 ช่องทาง ความกว้าง 1.70 เมตร และเป็นระยะทางยาว 160 เมตร ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2563 จนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564

ทั้งนี้ กทพ. ได้มีการติดตั้งป้ายเตือนก่อนถึงพื้นที่ดําเนินการและติดตั้ง ไฟสัญญาณต่างๆ ป้ายประชาสัมพันธ์การเบี่ยงการจราจรพร้อมไฟวับวาบ  เพื่อให้สัญญาณแก่ผู้ใช้ทางพิเศษทราบ

กทพ. ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอความร่วมมือผู้ที่ใช้เส้นทางบริเวณดังกล่าวโปรดสังเกตป้ายเตือน สัญญาณจราจรต่างๆ และปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการทางพิเศษ หากมีข้อเสนอแนะสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-405-4896 ตั้งแต่ 08.00-19.00 น. และ 062-912-6211 ตลอด 24 ชั่วโมง

Comments are closed.