ผลการฝึกซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ กทพ.

ผลการฝึกซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ กทพ.

     กทพ. ได้ดำเนินการฝึกซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) ดังนี้

สถานการณ์วิกฤตที่ 1 การสัญจรบนทางพิเศษหยุดชะงัก

อุบัติการณ์ที่ 1.1 : ทางพิเศษไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงบนทางพิเศษ

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ได้ดำเนินการฝึกซ้อมแผนฯ แบบเสมือนจริงควบคู่กับการซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Exercise) โดยจำลองสถานการณ์รถตู้โดยสารเสียหลักเฉี่ยวชนกับรถบรรทุก 6 ล้อ ที่บรรทุกสารเคมีกรดไฮโดรคลอริค (Hydrochloric Acid) บริเวณข้างด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษประชาอุทิศ ทางพิเศษฉลองรัช มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย โดยมีการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) รถดับเพลิง และตำรวจทางด่วนเข้าช่วยเหลือเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งการฝึกซ้อมในครั้งนี้ได้ดำเนินการ ณ ศูนย์บริหารการจราจรทางพิเศษ (Expressway Traffic Management Center) ชั้น 22 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. โดยจัดให้เป็น Single Command Room และมี ผอ.ฝคจ. เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ สั่งการไปยังพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแต่ละหน่วยได้เข้าฝึกซ้อมตามขั้นตอนมาตรฐานที่กำหนด จนสามารถกู้ภัยและให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามเหตุการณ์จำลองได้ ในการนี้ รผป. ผอ.กปส. และ ผอ.กจค.1 ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ณ ห้อง Single Command Room ส่วนผู้แทน กวป. และ ผู้แทน กบค. ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ผ่านทางระบบ Zoom โดยการฝึกซ้อมดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สามารถเปิดการจราจรได้อย่างน้อย 1 ช่องทางภายใน 29 นาที นับจากได้รับแจ้งเหตุ

 

อุบัติการณ์ที่ 1.2 โครงสร้างทางพิเศษได้รับความเสียหายจากการเกิดภัยพิบัติ (แผ่นดินไหว)/วินาศกรรม
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ณ ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ อาจณรงค์ 3 ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และผ่านระบบ Zoom Meeting ได้ดำเนินการฝึกซ้อมแบบเสมือนจริงควบคู่กับการซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Exercise) โดยจำลองสถานการณ์ พนักงานสื่อสารที่ศูนย์ควบคุมทางพิเศษได้รับโทรศัพท์ขู่วางระเบิดและตรวจพบวัตถุต้องสงสัยบนทางพิเศษสายทางเฉลิมมหานคร 2 จุด คือ บริเวณหน้าด่านอาจณรงค์ 3 และพบว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น บริเวณพื้นที่ลานจอดรถจุดตั้งอุปกรณ์เครื่องปั่นไฟฟ้าสำรอง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้าดำเนินการ ตรวจสอบและปิดกั้นพื้นที่ให้บริการทางพิเศษบริเวณที่เกิดเหตุรวมถึงตรวจสอบความปลอดภัยต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่จาก ฝบร. ฝจค. และ ฝคจ. เข้าร่วมฝึกซ้อมยังสถานที่จำลองเหตุการณ์ โดยมี กบค. เข้าร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งการฝึกซ้อมในครั้งนี้ได้จัดตั้ง ศูนย์ EOC ณ ห้องประชุม 1401 ชั้น 14 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. เพื่อสังเกตการณ์และให้เจ้าหน้าที่รายงานสถานการณ์มายังผู้บังคับบัญชา เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำในสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแต่ละหน่วยได้เข้าฝึกซ้อมตามขั้นตอนมาตรฐานที่กำหนดจนสามารถแก้ไขสถานการณ์จำลองได้ ในการนี้คณะทำงานจัดการภาวะวิกฤต (Front Non-IT)) ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ณ ห้อง Single Command Room โดยการฝึกซ้อมดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้แล้วเสร็จภายใน 50 นาที และมีระดับความรู้ความเข้าใจร้อยละ 83 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75)

 

อุบัติการณ์ที่ 1.3 โครงสร้างทางพิเศษได้รับความเสียหายจากการเกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงบริเวณเขตทางพิเศษ
กทพ. ได้ดำเนินการฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัยใต้ทางพิเศษ ประจำปี 2564 จำนวน 5 บริเวณ ดังนี้
– วันที่ 1 กันยายน 2564 (ณ บริเวณ รร. ประถมนนทรี เขตยานนาวา ทางพิเศษเฉลิมมหานคร)

 

– วันที่ 2 กันยายน 2564 (ณ บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางบางเมือง 1 ต.บางเมือง จ.สมุทรปราการ  ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์))

 

– วันที่ 3 กันยายน 2564 (ณ บริเวณลานกีฬาชุมชนบึงพระราม 9 พัฒนา ทางพิเศษฉลองรัช)

 

– วันที่ 6 กันยายน 2564 (ณ บริเวณ รร. วัดอุทัยราม ทางพิเศษศรีรัช)

 

– วันที่ 14 กันยายน 2564 (ณ บริเวณ โรงเรียนวัดบางพูน ทางพิเศษอุดรรัถยา)

เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงดำเนินการจัดทำคลิปวิดิทัศน์ของการสาธิตขั้นตอนวิธีการดับเพลิงเบื้องต้น โดยบรรจุลงในเวลาเรียนของนักเรียนเผื่อเผยแพร่ผ่านระบบการเรียนการสอนทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตออนไลน์ และจัดทำแบบยูทูปส่งให้ประธานชุมชนได้เผยแพร่ให้ชุมชนฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้น พร้อมมอบถังดับเพลิงและชุด PPE แก่ชุมชน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากชาวชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานเขต สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สื่อมวลชน ส่งผลให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ระดับความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 82.50 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75)

 

สถานการณ์วิกฤตที่ 2 การจราจรหน้าด่านติดขัดรุนแรง
อุบัติการณ์ที่ 2.1 กรณีระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากไฟไหม้ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ
กทพ. ได้ดำเนินการฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัยใต้ทางพิเศษ ประจำปี 2564 จำนวน 4 สายทางพิเศษ ดังนี้
– วันที่ 7, 12, 14, 19 และ 21 มกราคม 2564 (ณ ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษอุดรรัถยา)

 

– วันที่ 2, 4, 9, 11, 16, 18 และ 23 กุมภาพันธ์ 2564 (ณ ทางพิเศษฉลองรัช)

 

– วันที่ 2, 4, 9, 11, 16, 18, 23 มีนาคม และ 8 กันยายน 2564 (ณ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์))

 

ดำเนินการฝึกซ้อมแบบซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Testing) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และประชุมร่วมกันเพื่อปรับปรุงแก้ไขคู่มือการฝึกซ้อมแผนฯ ให้เหมาะสม โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย ฝจค., ฝคจ., ฝบร., กปส.สผว., กวป. และ กบค. ซึ่งการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ระดับความรู้ความเข้าใจร้อยละ 87.50 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75)

 

อุบัติการณ์ที่ 2.2 กรณีระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากน้ำท่วมด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ห้องประชุม 1901 ชั้น 19 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. และผ่านระบบ Zoom Meeting ได้ดำเนินการฝึกซ้อมแบบซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Testing) และประชุมร่วมกันเพื่อปรับปรุงแก้ไขคู่มือการฝึกซ้อมแผนฯ ให้เหมาะสม โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย ฝจค., ฝคจ., ฝบร., กปส.สผว. และ กบค. ซึ่งการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยระดับความรู้ความเข้าใจร้อยละ 80 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75)

 

อุบัติการณ์ที่ 2.3 กรณีระบบคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Central System) และระบบคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์ควบคุม (Head Quarter) ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเกิดภัยพิบัติ/วินาศกรรม/ระบบถูกบุกรุก/ระบบล่ม/ไฟไหม้ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก ระบบ ETC และระบบเงินสด
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ห้องประชุม 1201 ชั้น 12 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. และผ่านระบบ Zoom Meeting ได้ดำเนินการดำเนินการฝึกซ้อมแบบเสมือนจริงควบคู่กับการซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Exercise) โดยมีการจำลองสถานการณ์ ดังนี้

– ระบบ MTC – เกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransom ware) ระบบฐานข้อมูลกลางระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (MTC-HQ) ที่ศูนย์ควบคุมทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) (CCB6) ทำให้ระบบ MTC-HQ ของทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ไมสามารถใช้งานได จึงจำเป็นต้องใช้แผน BCP เพื่อย้ายระบบมาดำเนินงานที่ศูนย์สำรอง อาคารศูนย์ควบคุมทางพิเศษบูรพาวิถี (CCB4)
– ระบบ ETC – เกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์ มัลแวร์เรียกค่าไถ (Ransom ware) ระบบ CS ที่ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช (CCB2) ทำให้ระบบ CS ไม่สามารถใช้งานได จึงจำเป็นต้องใช้แผน BCP เพื่อย้ายระบบมาดำเนินงานที่ศูนย์สำรอง อาคารศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช (CCB3) และจากสถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้บุคลากรของ กทพ. ไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ไดจำเป็นต้องดำเนินการผ่าน Remote Desktop เพื่อกู้คืนระบบ MTC และ ETC จนแล้วเสร็จสามารถใช้งานได้ตามปกติ
ทั้งนี้ผลการฝึกซ้อมทั้ง 2 ระบบเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยระบบ MTC สามารถกู้คืนระบบได้ภายใน 30 นาที และระบบ ETC สามารถกู้คืนระบบได้ภายใน 30 นาที (เป้าหมาย สามารถย้ายไปปฏิบัติงานที่ศูนย์สำรองและกู้คืนระบบได้ภายใน 4 ชั่วโมง)

 

อุบัติการณ์ที่ 2.4 กรณีระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเกิดการชุมนุมประท้วงที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ณ อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. และผ่านระบบ Zoom Meeting ได้ดำเนินการฝึกซ้อมแบบซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Testing) และประชุมร่วมกันเพื่อปรับปรุงแก้ไขคู่มือการฝึกซ้อมแผนฯ ให้เหมาะสมโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย สผว., ฝบท., ฝจค., ฝคจ., ฝบร., กวป. และ กบค. ซึ่งการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ระดับความรู้ความเข้าใจร้อยละ 82 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75)

 

สถานการณ์วิกฤตที่ 4 อาคารสำนักงานหรืออาคารศูนย์ควบคุมทางพิเศษไม่สามารถใช้งานได้
อุบัติการณ์ที่ 4.1 : อาคารสำนักงาน/อาคารศูนย์ควบคุมทางพิเศษไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากไฟไหม้
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ณ อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. และผ่านระบบ Zoom Meeting ได้ดำเนินการฝึกซ้อมแบบเสมือนจริงควบคู่กับการซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Exercise) โดยจำลองสถานการณ์เกิดเพลิงไหม้ที่ห้องอาหาร ชั้น 5 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. (อาคารฝั่งพลาซ่า) โดยเพลิงไหม้เกิดจากร้านอาหาร (ข้าวแกงปักษ์ใต้) ซึ่งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำชั้น 5 และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำอาคารจำเป็นต้องเข้าดำเนินการระงับเหตุและดับเพลิงขั้นต้น โดยจากการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นพบว่า ไม่สามารถระงับเพลิงไหม้ให้อยู่ในวงจำกัดได้ จึงทำการอพยพพนักงาน และผู้ที่อยู่ภายในอาคารไปยังจุดรวมพลและจากการตรวจสอบพบว่า มีผู้ติดค้างที่ไม่สามารถอพยพหนีไฟได้ จำนวน 1 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 2 คน ภายหลังจากเพลิงไหม้สงบลงและการประเมินความเสียหายของพื้นที่อาคารสำนักงาน กทพ. จำเป็นต้องประกาศใช้แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อย้ายไปปฏิบัติงาน ณ พื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง (CCB3) โดยการฝึกซ้อมมี รผส. เป็นประธาน และมีเจ้าหน้าที่จาก ฝบร. และ ฝคจ. เข้าร่วมฝึกซ้อมยังสถานที่จำลองเหตุการณ์ โดยการฝึกซ้อมในครั้งนี้ได้จัดตั้ง ศูนย์ EOC ณ ห้องประชุม 1501 ชั้น 15 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. เพื่อสังเกตการณ์และให้เจ้าหน้าที่รายงานสถานการณ์ เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำในสถานการณ์ดังกล่าว และมีเจ้าหน้าที่บางส่วนเข้าร่วมฝึกซ้อมและสังเกตการณ์ผ่านระบบ Zoom ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแต่ละหน่วยได้ฝึกซ้อมตามขั้นตอนมาตรฐานที่กำหนดจนสามารถแก้ไขสถานการณ์จำลองได้ โดยการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ระดับความรู้ความเข้าใจร้อยละ 81.25 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75)

 

สถานการณ์วิกฤตที่ 5 ระบบงานบริหารจัดการสำนักงาน (Back Office) ที่สำคัญไม่สามารถใช้งานได้
อุบัติการณ์ : ศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก (Data Center) สำหรับระบบงานบริหารจัดการสำนักงาน (Back Office) ที่สำคัญไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากไฟไหม้ห้องศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุม 1601 ชั้น 16 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. และผ่านระบบ Zoom Meeting ได้ดำเนินการฝึกซ้อมเสมือนจริง โดยจำลองเหตุการณ์เกิดไฟไหม้ที่อาคารสำนักงานใหญ่ กทพ. จตุจักร ทำให้ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์หลัก (Data Center) ไม่สามารถใช้งานได้ จึงย้ายไปปฏิบัติงานที่ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองที่อาคารศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช (CCB3) และทดสอบการกู้คืนระบบที่สำคัญ 2 ระบบ ดังนี้
1) ระบบงานบัญชี การเงิน งบประมาณ พัสดุและบำรุงรักษา (SAP GUI)
2) ระบบงานตรวจสอบรายได้, ระบบ FTP Server (จัดเก็บไฟล์นำเข้าระบบงานตรวจสอบรายได้) ในการฝึกซ้อมครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ ของ ฝสท. และเจ้าหน้าที่ในแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฝึกซ้อม โดยการฝึกซ้อมดังกล่าวได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง ทำให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองส่งผลให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ผลการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สามารถใช้งานระบบสนับสนุน (Back Office) ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองได้ภายในเวลา 29 นาที (เป้าหมาย สามารถใช้ระบบงานสนับสนุน (Back Office) ที่ศูนย์ฯ สำรองได้ภายใน 4 ชั่วโมง)

 

สถานการณ์วิกฤตที่ 6 การให้บริการบนทางพิเศษและการปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานไม่สามารถดำเนินการได้
อุบัติการณ์ : พนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ เนื่องจากโรคระบาด/โรคอุบัติใหม่
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุม 1501 ชั้น 15 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. และผ่านระบบ Zoom Meeting ดำเนินการฝึกซ้อมแบบซักซ้อมความเข้าใจ (Tabletop Testing โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย สผว., ฝบท., ฝกง., ฝสท., ฝบร., ฝกม., ฝกส., ฝจค., ฝคจ., กวป. และ กบค. ซึ่งการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ ผลการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ระดับความรู้ ความเข้าใจร้อยละ 84.86 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75)

Comments are closed.