🛣 📢 กทพ. เร่งเดินหน้าโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 🌟

🛣 📢 กทพ. เร่งเดินหน้าโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 🌟

📢 วันนี้ (22 กรกฎาคม 2565) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมอารียา โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี นายชาตรี ตันศิริ รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) ซึ่งจะเป็นการรวบรวมข้อคิดเห็นข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาร่วมในการศึกษาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด

 

👨🏻 โดย นายชาตรีฯ ได้เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวง (ทล.) บูรณาการโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี และโครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) เพื่อแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายทางพิเศษ การทางพิเศษฯ จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ไวส โปรเจ็ค คอนซัลติ้ง จำกัด และบริษัท เอ็นไวร์ไซน์ จำกัด ให้ดำเนินงานศึกษาและจัดทำรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) มีระยะเวลาศึกษารวมทั้งสิ้น 12 เดือน โดยเริ่มการศึกษาตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษา เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโครงการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ ซึ่งโครงการจะได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาและพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมและครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป

​🔵 การทางพิเศษฯ มุ่งหวังให้โครงการฯ นี้ ได้มีบทบาทให้เกิดการแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายทางพิเศษ พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับคุณภาพชีวิต ดังวิสัยทัศน์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่ว่า องค์กรนวัตกรรม เพื่อการเดินทาง และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Innovation for Better Drive and Better Life ⛳️⛳️

กองประชาสัมพันธ์ สำนักผู้ว่าการ

Comments are closed.