project โครงข่ายทางพิเศษ ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ก่อสร้างทางพิเศษและเปิดให้บริการแล้ว 8 สายทาง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษ 4 แห่ง รวมระยะทาง 224.60 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันได้
เปิดให้บริการระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล

ทางพิเศษบูรพาวิถี

ทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นทางยกระดับขนาด ๖ ช่องจราจร มีแนวสายทางเริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณบางนา

ทางพิเศษบูรพาวิถี

โดยใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ตอนบางนา - บางปะกง ไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านอำเภอบางพลี ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ผ่านอำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ แล้วเข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านอำเภอบางปะกง ข้ามแม่น้ำบางปะกง และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองชลบุรี เป็นทางยกระดับขนาด ๖ ช่องจราจร ระยะทาง ๕๕ กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ตอนบางนา - บางปะกง และเชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศและบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การก่อสร้างตลอดสายแล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ โดยเปิดให้บริการในช่วงต่าง ๆ ดังนี้


ช่วงที่ ๑ บางนา - บางแก้ว
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๑

ช่วงที่ ๒ บางแก้ว - กิ่งแก้ว
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๑

ช่วงที่ ๓ กิ่งแก้ว - เมืองใหม่บางพลี
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑๐ฺกุมภาพันธ์ ๒๕๔๒

ช่วงที่ ๔ เมืองใหม่บางพลี - บางเสาธง
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒

ช่วงที่ ๕ บางเสาธง - บางสมัคร
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒

ช่วงที่ ๖ บางสมัคร - บางปะกง
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

ช่วงที่ ๗ บางปะกง - ชลบุรี
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓

ข้อมูลแบบละเอียด ทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นทางยกระดับขนาด ๖ ช่องจราจร มีแนวสายทางเริ่มที่ปลายทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณบางนา โดยใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ตอนบางนา-บางปะกง ไปทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำบางปะกง สิ้นสุดที่จังหวัดชลบุรี ระยะทาง ๕๕ กม. มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ตอนบางนา - บางปะกง รวมทั้ง เป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ และบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่หนองงูเห่าด้วย การก่อสร้างตลอดสายแล้วเสร็จตามสัญญา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ โดยเปิดให้บริการในช่วงต่างๆ ดังนี้

ช่วงที่ ๑ บางนา-บางแก้ว เปิดให้บริการในวันที่ ๙ เม.ย. ๒๕๔๑
ช่วงที่ ๒ บางแก้ว-กิ่งแก้ว เปิดให้บริการในวันที่ ๒๙ ก.ค. ๒๕๔๑
ช่วงที่ ๓ กิ่งแก้ว-เมืองใหม่บางพลี เปิดให้บริการในวันที่ ๑๐ ก.พ. ๒๕๔๒
ช่วงที่ ๔ เมืองใหม่บางพลี-บางเสาธง เปิดให้บริการในวันที่ ๒๕ พ.ค. ๒๕๔๒
ช่วงที่ ๕ บางเสาธง-บางสมัคร เปิดให้บริการในวันที่ ๑ ต.ค. ๒๕๔๒
ช่วงที่ ๖ บางสมัคร-บางปะกง เปิดให้บริการในวันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๔๒
ช่วงที่ ๗ บางปะกง-ชลบุรี เปิดให้บริการในวันที่ ๗ ก.พ. ๒๕๔๓

อัตราค่าผ่านทางพิเศษ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ประเภทรถ อัตราค่าผ่านทาง (หน่วย : บาท)
กรณีเดินทางไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตร (หน่วย: บาท/เที่ยว)
รถ ๔ ล้อ ๒๐
รถ ๖ - ๑๐ ล้อ ๕๐
รถมากกว่า ๑๐ ล้อ ๗๕
กรณีเดินทางเกิน ๒๐ กิโลเมตร (หน่วย: บาท/กิโลเมตร)
รถ ๔ ล้อ ๑.๓๐
รถ ๖ - ๑๐ ล้อ ๒.๖๐
รถมากกว่า ๑๐ ล้อ ๓.๙๐
ภาพโครงข่ายการทางพิเศษ