project โครงข่ายทางพิเศษ ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ก่อสร้างทางพิเศษและเปิดให้บริการแล้ว 8 สายทาง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษ 4 แห่ง รวมระยะทาง 224.60 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันได้
เปิดให้บริการระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล

ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร)

ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางด่วนสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) ระยะทาง ๑๖.๗ กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมและขนส่งไปยังฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโครงการต่อขยายทางพิเศษไปยังฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจรและเพิ่มศักยภาพของระบบคมนาคมขนส่ง

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครบริเวณใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ไปตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้เดิม และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม ๖ สิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีกลางบางซื่อ (จตุจักร) โดยเชื่อมต่อทางพิเศษศรีรัชบริเวณสถานีขนส่ง (หมอชิต ๒) และลงสู่ระดับดินที่บริเวณถนนกำแพงเพชร ๒ เป็นทางยกระดับขนาด ๖ ช่องจราจร ทดสอบให้บริการโดยยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษชั่วคราวระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ และเปิดให้บริการโดยจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๙


ข้อมูลแบบละเอียด ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางด่วนสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายโครงข่ายของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในทางทิศตะวันตก เพื่อแบ่งเบาปริมาณจราจรระดับดินและระบายการจราจรทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นทางยกระดับขนาด ๖ ช่องจราจร แนวสายทางเริ่มต้นที่ทางพิเศษศรีรัช โดยมีจุดเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต ๒)จากนั้นแนวสายทางจะไปทางทิศตะวันตก โดยใช้พื้นที่เขตทางรถไฟสายตะวันตก (สายใต้เดิม) ตั้งแต่บริเวณบางซื่อและข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม ๖ หลังจากนั้นแนวสายทางยังคงไปตามเขตทางรถไฟ โดยขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จนถึงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ระยะทางรวมประมาณ ๑๖.๗ กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๙
ภาพโครงข่ายการทางพิเศษ