project โครงข่ายทางพิเศษ ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ก่อสร้างทางพิเศษและเปิดให้บริการแล้ว 8 สายทาง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษ 4 แห่ง รวมระยะทาง 224.60 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันได้
เปิดให้บริการระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล

ทางพิเศษฉลองรัช

ทางพิเศษฉลองรัช เป็นทางยกระดับขนาด ๖ ช่องจราจร มีระยะทาง ๒๘.๒ กิโลเมตร

ทางพิเศษฉลองรัช

มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางและแบ่งเบาการจราจรบนถนนรามอินทราและย่านใจกลางเมือง โดยไม่ผ่านถนนที่มีปัญหาการจราจรติดขัด ได้แก่ ถนนลาดพร้าว ถนนพระราม ๙ ถนนเพชรบุรี และช่วยระบายการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร สำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าหรือออกจากเมือง รวมทั้งขยายขอบข่ายของทางพิเศษให้สามารถอำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่การจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รามอินทรา - อาจณรงค์ ระยะทาง ๑๘.๗ กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙

โดยมีเส้นทางเริ่มจากถนนรามอินทรา บริเวณกิโลเมตรที่ ๕.๕ ลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว ถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม ๙ แล้วเบนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับทางพิเศษศรีรัช ส่วน D ข้ามถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการ เลียบแนวคลองตัน ข้ามถนนสุขุมวิททางด้านตะวันออกของสะพานพระโขนง ไปบรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายบางนา - ท่าเรือที่บริเวณอาจณรงค์ (ปลายซอยสุขุมวิท ๕๐) ทางพิเศษฉลองรัช แบ่งช่วงการเปิดให้บริการ ดังนี้

1) ช่วงถนนรามอินทรา - ถนนลาดพร้าว เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๙

2) ช่วงถนนลาดพร้าว - ถนนพระราม ๙ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๙

3) ช่วงถนนพระราม ๙ - อาจณรงค์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙

4) ทางแยกต่างระดับพระราม ๙ (เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช ส่วน D) เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๓

รามอินทรา - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง ๙.๕ กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒ เริ่มจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก บริเวณจตุโชติ ทิศใต้ของทางแยกต่างระดับลำลูกกา มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยกระดับข้ามถนนสุขาภิบาล ๕ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนถึงถนนรามอินทรา บริเวณกิโลเมตรที่ ๕.๕ เชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัชช่วงรามอินทรา - อาจณรงค์ ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของทางพิเศษฉลองรัชทางด้านเหนือ และเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทางพิเศษสายนี้ใช้ชื่อทางการว่า “ทางพิเศษฉลองรัช” เช่นเดียวกับทางพิเศษช่วงรามอินทรา - อาจณรงค์
ข้อมูลแบบละเอียด เป็นทางยกระดับขนาด ๖ ช่องจราจร มีระยะทาง ๒๘.๒ กม. เริ่มจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครของกรมทางหลวงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนถึงถนนรามอินทราบริเวณกิโลเมตรที่ ๕.๕ ลงทางทิศใต้ ข้ามถนนลาดพร้าว ถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม ๙ แล้ว ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการ เลียบแนวคลองตันข้ามถนนสุขุมวิททางด้านตะวันออกของสะพานพระโขนง ไปบรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายบางนา-ท่าเรือที่บริเวณอาจณรงค์ (ปลายซอยสุขุมวิท ๕๐) มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางและแบ่งเบาการจราจรบนถนนรามอินทราและย่านใจกลางเมือง โดยไม่ต้องผ่านถนนที่มีปัญหาการจราจรติดขัด ได้แก่ ถนนลาดพร้าว ถนนพระราม ๙ ถนนเพชรบุรี และช่วยระบายการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร สำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าหรือออกจากเมือง รวมทั้งขยายขอบข่ายของทางพิเศษให้สามารถอำนวยความสะดวก และ รวดเร็วแก่การจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างถนนคู่ขนานระดับดินของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเขตติดต่อกับทางพิเศษฉลองรัชก่อสร้างเป็นถนนขนาด ๖ ช่องจราจร เริ่มต้นที่ถนนรามอินทราวิ่งคู่ขนานไปกับทางพิเศษฉลองรัช จนถึงถนนพระราม ๙ แล้วมุ่งตรงไปทางทิศใต้ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกและถนนเพชรบุรีตัดใหม่และสิ้นสุดแนวสายทางที่ปลายซอยเอกมัย รวมระยะทาง ๑๓.๑ กม. ทางพิเศษฉลองรัชแบ่งช่วงการเปิดให้บริการ ดังนี้

ช่วงที่ ๑ รามอินทรา - อาจณรงค์
ระยะทาง ๒๘.๒ กม. เปิดให้บริการในวันที่ ๒๙ ต.ค. ๒๕๒๔
ระยะที่ ๑ (ช่วงรามอินทรา - ลาดพร้าว) เปิดให้บริการในวันที่ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๒๔
ระยะที่ ๒ (ช่วงถนนลาดพร้าว - ถนนพระราม ๙) เปิดให้บริการในวันที่ ๒๒ ส.ค. ๒๕๓๙
ระยะที่ ๓ (ช่วงพระราม ๙ - อาจณรงค์) เปิดให้บริการในวันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๓๙
ระยะที่ ๓ (ช่วงพระราม ๙ - อาจณรงค์) เปิดให้บริการในวันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๓๙
ระยะที่ ๔ ทางแยกต่างระดับพระราม ๙ (เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช ส่วน D) เปิดให้บริการในวันที่ ๑ เม.ย. ๒๕๔๑

ช่วงที่ ๒ รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
ระยะทาง ๙.๕ กม. เปิดให้บริการในวันที่ ๒๓ เม.ย. ๒๕๕๒

อัตราค่าผ่านทางพิเศษ กทพ. ได้ปรับอัตราค่าผ่านทางทางพิเศษฉลองรัชใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒ เนื่องจากทางพิเศษฉลองรัชมีการเปิดให้บริการเพิ่มจากรามอินทราถึงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย กทพ.รับภาระแทนผู้ใช้บริการ) หน่วย : บาท
เส้นทาง อัตราค่าผ่านทาง (หน่วย : บาท)
รถ ๔ ล้อ รถ ๖ - ๑๐ ล้อ รถมากกว่า ๑๐ ล้อ
ทางพิเศษฉลองรัช ช่วงรามอินทรา-อาจณรงค์ ๔๐ ๖๐ ๘๐
* ยกเว้นด่านลาดพร้าว ด่านพระราม ๙-๑ (ฉลองรัช และด่านพระราม ๙-๒) ๓๐ ๕๐ ๗๐
ทางพิเศษฉลองรัช ช่วงรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพ-มหานคร ๔๐ ๖๐ ๘๐
* ยกเว้นด่านรามอินทรา ๑ และด่านสุขาภิบาล ๕-๒ ๒๐ ๓๐ ๔๐
ภาพโครงข่ายการทางพิเศษ