project โครงข่ายทางพิเศษ ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ก่อสร้างทางพิเศษและเปิดให้บริการแล้ว 8 สายทาง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษ 4 แห่ง รวมระยะทาง 224.60 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันได้
เปิดให้บริการระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล

ทางพิเศษอุดรรัถยา

ทางพิเศษอุดรรัถยา เชื่อมต่อจากทางพิเศษศรีรัช ส่วน C โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ อีกทั้งทำให้ระบบโครงข่ายของถนนและทางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบนสมบูรณ์ขึ้น เพราะทางพิเศษอุดรรัถยาจะทำหน้าที่เป็นทางพิเศษแนวรัศมีรับปริมาณจราจรจากใจกลางเมืองมาเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกของกรมทางหลวง (ทล.) และยังสามารถช่วยระบายการจราจรบนถนนสายหลัก (เช่น ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต) และถนนสายต่าง ๆ ของกรมทางหลวง

ทางพิเศษอุดรรัถยา
มีระยะทาง ๓๒ กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น ๒ ระยะ ดังนี้


ระยะที่ ๑ แจ้งวัฒนะ - เชียงราก ระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร เริ่มต้นเชื่อมต่อที่ปลายทางพิเศษศรีรัช บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ มุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านเมืองทองธานี จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แล้วข้ามคลองเชียงราก ไปถึงบางพูน เป็นทางยกระดับขนาด ๔ ช่องจราจร ก่อนที่จะลดระดับเป็นทางระดับดินขนาด ๔ ช่องจราจร โดยมีรั้วกั้นตลอด จากนั้นเข้าสู่อำเภอสามโคก ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๑ เป็นทางระดับดินขนาด ๔ ช่องจราจร (ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร) ซึ่งบริเวณนี้จะมีเส้นทางแยกไปทางทิศตะวันออก เพื่อต่อเชื่อมกับถนนทางเข้ามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นทางยกระดับขนาด ๔ ช่องจราจร จากเชียงรากไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร) ก่อสร้างแล้วเสร็จเดือนตุลาคม ๒๕๔๑ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑

ระยะที่ ๒ เชียงราก - บางไทร ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับระยะที่ ๑ ที่เชียงราก เส้นทางโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๗ แล้วไปสิ้นสุดบริเวณกิโลเมตรที่ ๗๙ ของถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกของกรมทางหลวงช่วงอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อสร้างเป็นทางระดับดินขนาด ๔ ช่องจราจร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
ข้อมูลแบบละเอียด ทางพิเศษอุดรรัถยาเชื่อมต่อจากทางพิเศษศรีรัช ส่วน C โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ อีกทั้งทำให้ระบบโครงข่ายของถนนและทางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบนสมบูรณ์ขึ้น เพราะทางพิเศษอุดรรัถยา จะทำหน้าที่เป็นทางพิเศษแนวรัศมีรับปริมาณการจราจรจากใจกลางเมือง มาเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกของกรมทางหลวง และ ยังสามารถช่วยระบายการจราจรบนถนนสายหลัก เช่นถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนสายต่าง ๆ ของกรมทางหลวง มีระยะทาง ๓๒ กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น ๒ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ แจ้งวัฒนะ - เชียงราก
ระยะทางประมาณ ๒๒ กม. เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช บริเวณถนนแจ้งวัฒนะไปถึงบางพูน ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด ๔ ช่องจราจร และจากบางพูน-เชียงราก เป็นทางระดับดินขนาด ๔ ช่องจราจร (ระยะทางประมาณ ๒๐ กม.) และก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ขนาด ๔ ช่องจราจร จากเชียงรากไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) (ระยะทางประมาณ ๒ กม.) ก่อสร้างแล้วเสร็จ เดือนตุลาคม ๒๕๔๑ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
ระยะที่ ๒ เชียงราก - บางไทร
ระยะทางประมาณ ๑๐ กม. เชื่อมต่อกับระยะที่ ๑ ที่เชียงราก และมีแนวสายทางมุ่งไปทางทิศเหนือ ไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกของกรมทางหลวงในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อสร้างเป็นทางระดับดินขนาด ๔ ช่องจราจร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ (เปิดให้บริการทางออกถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒)

อัตราค่าผ่านทางพิเศษ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ประเภทยานพานะ อัตราค่าผ่านทาง (บาท/เที่ยว) หน่วย : บาท
ช่วงแจ้งวัฒนะ - เชียงราก
รถ ๔ ล้อ ๔๕
รถ ๖ - ๑๐ ล้อ ๑๐๐
รถมากกว่า ๑๐ ล้อ ๑๕๐
ช่วงเชียงราก - บางไทร
รถ ๔ ล้อ ๑๐
รถ ๖ - ๑๐ ล้อ ๒๐
รถมากกว่า ๑๐ ล้อ ๓๐
ภาพโครงข่ายการทางพิเศษ