project โครงการ โครงการที่อยู่ในแผนงาน รวมถึงโครงการปรับปรุงทางขึ้น - ลงทางพิเศษ

โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี

๑. ชื่อโครงการ

งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี

๒. เหตุผลความจำเป็น

จากการประชุมหารือเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้มีการหารือเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนสุขุมวิท ช่วงจากทางลงทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนครถึงถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี โดยการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ของกรมทางหลวง (ทล.) โดยที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรมทางหลวง พิจารณาจุดเชื่อมต่อดังกล่าว

ต่อมาได้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง สนข. ทล. และ กทพ. เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี รวมทั้งศึกษาผลกระทบด้านการจราจร (Traffic Impact Assessment) บริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายถนนโดยรอบ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมรองรับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเป็นการแก้ปัญหาการจราจรทั้งระบบอย่างยั่งยืน

กทพ. จึงว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี โดยมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

๑) ลดการตัดกระแสจราจรของรถที่ลงจากทางพิเศษบูรพาวิถีเพื่อไปยังถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี โดยการก่อสร้างทางเชื่อมต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีเพื่อไปยังถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี

๒) ลดการตัดกระแสจราจรของรถบริเวณด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยการก่อสร้างทางขึ้น-ลง ทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนบ้านเก่า และทางขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี-
ถนนสุขุมวิท

๓) ศึกษาผลกระทบด้านการจราจรบริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายถนนโดยรอบ ให้สามารถรองรับปริมาณจราจรได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

๓. วัตถุประสงค์ของโครงการ

๓.๑) เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และการเงินโครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถี และถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ทางขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนบ้านเก่า และทางขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนสุขุมวิท

๓.๒) เพื่อสำรวจและออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ทางขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนบ้านเก่า และทางขึ้น-ลง ทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนสุขุมวิท

๓.๓) เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี รวมทั้งเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายละเอียดที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำหนด

๓.๔) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการจราจร (Traffic Impact Assessment) บริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายถนนในพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาการจราจรดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

๔. สาระสำคัญ
เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี โดยมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

๔.๑) ลดการตัดกระแสจราจรของรถที่ลงจากทางพิเศษบูรพาวิถีเพื่อไปยังถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี โดยการก่อสร้างทางเชื่อมต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีเพื่อไปยังถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี

๔.๒) ลดการตัดกระแสจราจรของรถบริเวณด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยการก่อสร้างทางขึ้น-ลง ทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนบ้านเก่า และทางขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนสุขุมวิท

๔.๓) ศึกษาผลกระทบด้านการจราจรบริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายถนนโดยรอบ ให้สามารถรองรับปริมาณจราจรได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
๕. ผู้ดำเนินการ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

๖. สถานที่จะดำเนินการ (โครงการ)

พื้นที่ดำเนินการ :  เฉพาะจังหวัด  ทั่วประเทศ
รายละเอียด :

จังหวัด อำเภอ/เขต ตำบล/แขวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ฉะเชิงเทรา บางปะกง ตำบลท่าข้าม เทศบาลตำบลท่าข้าม
ชลบุรี พานทอง ตำบลบ้านเก่า
เมืองชลบุรี ตำบลหนองไม้แดง เทศบาลตำบลหนองไม้แดง
ตำบลคลองตำหรุ เทศบาลตำบลคลองตำหรุ

๗. ขั้นตอนการดำเนินงาน

การดำเนินงานของโครงการ ครอบคลุมทั้งการศึกษาด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

งานส่วนที่ ๑ : งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมต่อพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ทางขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนบ้านเก่า และทางขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี-ถนนสุขุมวิท
๑) งานศึกษาทางด้านวิศวกรรมจราจรและขนส่ง
๒) งานศึกษาด้านวิศวกรรม
๓) งานศึกษาและวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ การเงิน รูปแบบการลงทุนและการบริหารโครงการ
๔) งานศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

งานส่วนที่ ๒ : งานศึกษาผลกระทบด้านการจราจร (Traffic Impact Assessment) บริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
๑) งานวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร และกำหนดแนวทาง มาตรการและโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร
๒) งานจัดทำแผนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหา

งานส่วนที่ ๓ : งานประชาสัมพันธ์โครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน
๑) งานเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน
๒) งานประชาสัมพันธ์โครงการ

๘. ระยะเวลาดำเนินการ

เริ่มต้นโครงการ : ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒
สิ้นสุดโครงการ : ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓

๙. ผลผลิต

๙.๑) รายงานการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี
๙.๒) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี
๙.๓) รายงานการศึกษาผลกระทบด้านการจราจร (Traffic Impact Assessment) บริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
๙.๔) รายงานสรุปผลการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและประชาสัมพันธ์โครงการ
๙.๕) แบบเบื้องต้นของโครงการ

๑๐. ผลลัพธ์
๑๐.๑) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายถนนโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร รวมทั้งเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาการจราจรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
๑๐.๒) เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมรองรับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และแก้ปัญหาการจราจรทั้งระบบอย่างยั่งยืน
๑๐.๓) เพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาแก่ผู้ใช้เส้นทาง
๑๐.๔) ช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖๑ (ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี)

๑๑. ผลกระทบ
๑๑.๑ ต่อประชาชนในพื้นที่
ประชาชนที่อยู่ในแนวเขตทางอาจจะได้รับผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอาจได้รับผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน และความปลอดภัยจากกิจกรรมการก่อสร้าง เมื่อเปิดให้บริการแล้วจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรของโดยรอบพื้นที่ และเสริมโครงข่ายการเดินทางของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๑๑.๒ ต่อประชาชนทั่วไป
ในขณะก่อสร้างอาจส่งผลกระทบต่อด้านการจราจรและความปลอดภัยต่อประชาชน เมื่อเปิดให้บริการจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรโดยรอบพื้นที่ และเสริมโครงข่ายการเดินทางของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

๑๒. มาตรการป้องกันผลกระทบ
๑๒.๑ ต่อประชาชนในพื้นที่
อาจส่งผลกระทบต่อประชาขนในพื้นที่กรณีที่มีการโยกย้ายและการเวนคืนพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง และการรบกวนจากกิจกรรมการก่อสร้าง ได้แก่ ปัญหาด้านคุณภาพอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน และความปลอดภัย ซึ่ง กทพ. จะดำเนินโครงการให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยในการเวนคืนและชดเชยทรัพย์สินจะดำเนินการอย่างเป็นธรรม โปร่งใสและเป็นไปตามกฎหมาย ควบคู่กับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดต่อประชาชนในพื้นที่

๑๒.๒ ต่อประชาชนทั่วไป
อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปในช่วงการก่อสร้างในด้านความไม่สะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง มาตรการที่สำคัญคือการกำกับดูแลกิจกรรมการก่อสร้างให้มีผลกระทบน้อยที่สุด และมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อร่วมกันกำหนดการจัดการจราจรในช่วงการก่อสร้างโครงการ

๑๓. ประมาณการค่าใช้จ่าย

จำนวนเงิน ๒๔,๕๒๖,๐๐๕.๐๐ บาท (ยี่สิบสี่ล้านห้าแสนสองหมื่นหกพันห้าบาทถ้วน)

ที่มาของเงิน งบประมาณของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

๑๔. สอบถามข้อมูลโครงการได้ที่

ชื่อ-สกุล : นายสุรกิตติ์ เล่ห์สิงห์
ตำแหน่ง : วิศวกร ๖
แผนกวิเคราะห์วิศวกรรม กองวางแผนและวิเคราะห์โครงการ ฝ่ายนโยบายและแผน
สังกัด : หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
กรม : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
E-mail : surakit_les@exat.co.th
โทรศัพท์ : ๐๒-๕๕๘-๙๘๐๐ ต่อ ๑๘๕๑
โทรสาร : ๐๒-๙๔๐-๑๒๒๓

เว็บไซต์โครงการฯ    http://www.buraphawithi-extension.com

๑๕. ข้อมูลโครงการ

๑๕.๑ แผ่นพับโครงการ (ปฐมนิเทศโครงการ) วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ คลิกดาวน์โหลด
๑๕.๒ กำหนดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ ๑ (กลุ่มที่ ๑ และ กลุ่มที่ ๒)  วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๒ คลิกดาวน์โหลด
๑๕.๓ เอกสารประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๑ (ผลการคัดเลือกรูปแบบทางขึ้น-ลงของโครงการ) คลิกดาวน์โหลด
๑๕.๔ กำหนดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒ (ผลการคัดเลือกแนวสายทาง และรูปแบบทางขึ้น-ลงที่เหมาะสมของโครงการ) คลิกดาวน์โหลด
๑๕.๕ เอกสารประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒  (ผลการคัดเลือกแนวสายทาง และรูปแบบทางขึ้น-ลงที่เหมาะสมของโครงการ) คลิกดาวน์โหลด

๑๖. แผนที่โครงการ

๑๖.๑ แผนที่แสดงแนวทางเลือก คลิกดาวน์โหลด

๑๗. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

๑๗.๑ การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมรัตนแกรนด์บอลรูม โรงแรมรัตนชล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

๑๗.๒ การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ ๑ (กลุ่มที่ ๑) วันพุธที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

๑๗.๓ การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ ๑ (กลุ่มที่ ๒) วันพุธที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์ ชั้น ๒ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี

๑๗.๔ การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.
(ผลการคัดเลือกแนวสายทาง และรูปแบบทางขึ้น-ลงที่เหมาะสมของโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้าน
วิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี

การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลโครงการผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

๑) เว็บไซต์หลักของโครงการ www.Buraphawithi-extension.com

๒) เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี www.publicconsultation.opm.go.th

๑๘. สรุปการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี

 

ลำดับ ประเภทการรับฟังความคิดเห็น รายงานสรุปผลฯ
การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๑ (ปฐมนิเทศโครงการ) คลิกดาวน์โหลด
การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ ๑ (กลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒) วันพุธที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. คลิกดาวน์โหลด
การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมรัตนแกรนด์บอลรูม ชั้น ๑๒ โรงแรมรัตนชล อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี คลิกดาวน์โหลด